|
Information ค้นหาข้อมูลเบื้องต้น
|
ควรเริ่มต้นที่การศึกษาข้อมูลที่จำเป็นจนเข้าใจก่อน วิธีการผ่าตัดชนิดต่างๆ ผลลัพธ์ ผลแทรกซ้อน วิเคราะห์ความต้องการของตนเองว่าชอบลักษณะใด ขนาดประมาณไหน อย่างไรก็ตามเนื่องจากลักษณะเต้านมจะแตกต่างกันไปไม่เหมือนกันในแต่ละคนจึงต้องให้แพทย์เป็นผู้ตรวจโดยละเอียดแล้วปรึกษาร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
เลือกศัลยแพทย์ตกแต่ง โดยสามารถตรวจเชคได้จากเวปไซท์ของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย http://plasticsurgery.or.th/lst.php และสถานที่ผ่าตัด คลินิก หรือโรงพยาบาล ข้อดี ข้อเสีย |
|
Consultation การปรึกษาแพทย์
|
ประวัติที่แพทย์ต้องการ ดังนี้
- ประวัติส่วนตัว การมีบุตร การให้น้ำนมบุตร น้ำหนัก ส่วนสูง
- โรคประจำตัว ประวัติการรักษา การผ่าตัดในอดีต ชื่อยาที่รับประทาน ใบรับรองแพทย์จากแพทย์โรคประจำตัว
- ความต้องการเรื่องขนาดของหน้าอก รูปทรง อาจนำรูปภาพมาให้ศัลยแพทย์เป็นตัวอย่าง
- หากเป็นเคสแก้ไขเสริมหน้าอก หากทำได้ควรหาข้อมูลชนิดและขนาดซิลิโคนเดิม วิธีการผ่าตัดเดิม จะช่วยในการ วางแผนแก้ไขได้ดีขึ้น
เมื่อได้ปรึกษาแพทย์ แล้วทำการนัดวันผ่าตัด และวางแผนเลือกช่วงเวลาพักฟื้นที่ต้องการ (โดยทั่วไป หากผ่าตัดแผลราวนมและผ่าตัดรักแร้ด้วยการส่องกล้อง สามารถกลับไปทำงานเบาๆได้ภายใน 3 วัน หากเป็นทางรักแร้แบบวิธีเดิม อาจจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน และห้ามยกของหนัก งดเล่นกีฬาหรือฟิตเนส 1 เดือน การขับรถได้หลังจาก 1 สัปดาห์ขึ้นไป การอุ้มลูกทำได้บ้างเล็กน้อยหลัง 3 วัน การมีประจำเดือนไม่เป็นข้อห้ามในการผ่าตัด) |
|
|
|
Pre-operative preparation
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
(การปฏิบัติก่อนและหลังผ่าตัดขึ้นอยู่กับศัลยแพทย์แต่ละท่าน)
|
เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัว เสื้อเชิ้ตหลวมติดกระดุมหน้า เพื่อให้ใส่สะดวกในวันออกจากโรงพยาบาล แผ่นซิลิโคนปิดหัวนม (ซื้อได้จากร้านขายชุดชั้นในที่ห้างสรรพสินค้า )
- ไม่จำเป็นต้องเตรียมบราก่อนผ่าตัด เนื่องจากขนาดยังไม่คงที่
- งดยาหรืออาหารเสริมที่ไม่จำเป็นทุกชนิด 1 สัปดาห์
- งดยา Aspirin หรือชนิดที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด, พริมโรสออยล์ 1 สัปดาห์
- งดยา Isotretinoin หรือ Acnotin ที่ใช้รักษาสิว ควรงดอย่างน้อย 1 –2 สัปดาห์
- พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงโอกาสติดเชื้อไข้หวัด ซึ่งอาจจะทำให้มีเสมหะมากไม่สามารถดมยาสลบได้
- อาบน้ำ สระผมให้สะอาด ในคืนก่อนผ่าตัด
- ในวันนัดผ่าตัด ให้งดน้ำ งดอาหารหลังเที่ยงคืน หรือก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
|
|
|
Post-operative care
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
(การปฏิบัติก่อนและหลังผ่าตัดขึ้นอยู่กับศัลยแพทย์แต่ละท่าน)
|
1. การนัดตรวจหลังผ่าตัด / การตัดไหม
นัดตรวจและตัดไหม 7 วัน และนัดพบแพทย์อีก 1 เดือน และ 6 เดือน หลังจากนั้น ปีละครั้ง
2. การดูแลหลังผ่าตัด ได้แก่
1. การใส่บรา
2. ท่านอน
3. การป้องกันแผลเป็นนูน
4. การทำงานและการยกของ หรือออกกำลังกาย
5. การนวดเต้านม
6. การตั้งครรภ์และให้นมบุตร
7. การตรวจมะเร็งเต้านม
8. การับประทานอาหาร
2.1 การใส่บรา
• บราที่แนะนำคือ บราชนิดไม่มีโครง (สปอรตบรา) เลือกซื้อขนาดที่พอดี ใส่สบาย ในวันที่สามหลังผ่าตัดหลังจากที่สามารถเคลื่อนไหวได้คล่อง ไม่มีอาการปวด ตอนกลางคืนสามารถโนบราได้
2.2 ท่านอน
• นอนหงายปกติ ไม่จำเป็นต้องนั่งนอน ตะแคงได้ปกติ งดนอนคว่ำ 3 เดือน
2.3 การดูแลแผลเป็น
• ปิดแผ่นซิลิโคนที่แผลเพื่อลดโอกาสเกิดแผลนูนเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
• สังเกตดูแผลบ่อยๆ อย่างน้อย 2 ปี หากเกิดรอยแผลนูนต้องรีบปรึกษาแพทย์
3. การนวดเต้านม
ขึ้นกับซิลิโคนแต่ละชนิด หากใช้ซิลิโคนผิวทราย ไม่จำเป็นต้องนวด หากใช้ซิลิโคนผิวเรียบ ให้นวดเบาๆหลังผ่าตัด ตามคำแนะนำของแพทย์
4. การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร
หลังผ่าตัด 3 เดือน สามารถให้ตั้งครรภ์ได้ การให้นมบุตรให้ได้ตามปกติ เพราะการเสริมไม่เกี่ยวข้องกับต่อมน้ำนมซิลิโคนจะอยู่ชั้นลึกกว่า
5. การตรวจมะเร็งเต้านม, การเกิดมะเร็งเต้านม
ตรวจมะเร็งได้ตามปกติ สามารถทำ Mammogram (X-ray เต้านม) ได้การเสริมหน้าอกไม่กระตุ้นให้เกิดมะเร็ง
6. การรับประทานอาหาร ควรงดแอลกอฮอล์ 2 สัปดาห์ หลังผ่าตัด
|
|
|
|
|
|
|
|