ปัญหาและโรคแทรกซ้อนจากการเสริมหน้าอก
การเกิดผังผืดรัดถุงเต้านมเทียม (Capsular contracture) |
|
เป็นความเสี่ยงที่พบได้และเป็นปัญหามากที่สุดของการเสริมหน้าอก เกิดจากการตอบสนองของร่างกายกับการใส่วัสดุซิลิโคนโดยการสร้างเนื้อเยื่อผังผืดมาหุ้มซิลิโคน ที่เรียกว่าแคปซูล (Capsule) ซึ่งในบางรายอาจเกิดการหดตัวของแคปซูลทำให้บีบรัดซิลิโคนจนรู้สึกว่าหน้าอกแข็งเป็นก้อน และอาจบีบรัดมากจนเสียรูปทรงได้ (Capsular contracture) |
|
|
|
สามารถแบ่งความรุนแรงได้ 4 ระดับ โดยระดับที่เริ่มเป็นปัญหาจนต้องทำการแก้ไข คือระดับ 3 ซึ่งเกิดการผิดรูปของหน้าอก หรือ ระดับ 4 ที่มีอาการเจ็บร่วมด้วย
อาการที่พบคือ หลังผ่าตัดไปนานๆ หน้าอกมีการแข็งขึ้น เมื่อสัมผัสไม่เป็นเนื้อเดียวกับเนื้อเต้านมธรรมชาติ ความเสี่ยงในช่วงปีแรกถือว่าสูงที่สุด หลังจากปีแรกยังพบได้แต่น้อยลง เมื่อผังผืดหดรัดจะทำให้ส่วนบริเวณเนินอกนูนมากขึ้น บางรายดันเนินอกสูงขึ้นและหัวนมจะพลิกลง บางรายเกิดการยึดแน่นไม่สามารถขยับเต้านมเคลื่อนไหวได้ดี ระดับราวนมยกตัวสูงขึ้น และถ้ามีอาการรุนแรงอาจเกิดอาการเจ็บร่วมด้วย และอาจเป็นสาเหตุให้ซิลิโคนเสื่อมสภาพและรั่วซึมได้เร็วมากขึ้น |
|
|
|
สาเหตุ :
|
ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดผังผืดง่ายขึ้น คือ การบาดเจ็บจากการผ่าตัด การมีเลือดคั่ง การติดเชื้อแบคทีเรีย |
การรักษา : |
หากมีอาการมาก แนะนำผ่าตัดแก้ไขโดยการเลาะผังผืด หรือเปลี่ยนตำแหน่งช่องของซิลิโคน และควบคุมไม่ให้เกิดปัจจัยกระตุ้น |
การนวดเต้านม : |
ยังไม่มีรายงานวิจัยชัดเจนถึงประโยชน์จากการนวดเต้านม |
การป้องกัน : |
1. ควบคุมการผ่าตัดให้บาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อยที่สุด ห้ามเลือดให้ดีที่สุด (Precise technique and dry pocket) จึงเป็นสาเหตุ
ให้การผ่าตัดเสริมหน้าอกทางรักแร้ด้วยการส่องกล้องนั้นลดความเสี่ยงต่อการเกิดผังผืดได้ดีขึ้นกว่าเทคนิคเดิม
2. ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียจากท่อน้ำนม ควบคุมความสะอาดในการผ่าตัดและเครื่องมือ
3. การใช้ซิลิโคนผิวทรายจะช่วยลดการเกิดผังผืดเฉพาะกรณีเสริมเนื้อกล้ามเนื้อเมื่อเทียบกับซิลิโคนผิวเรียบ |
|
ส่วนการวางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ ถือว่าช่วยลดผังผืดอยู่แล้ว งานวิจัยพบว่าซิลิโคนผิวเรียบและผิวทรายไม่ได้แตกต่างกันด้านความเสี่ยงการเกิดผังผืด |
|
|
|
|
การเกิดนมสองลอน (Double bubble deformity) |
สาเหตุเกิดจากการผ่าตัดเสริมหน้าอกแล้วมิได้ปรับแต่งฐานอกให้เหมาะสม หรือ ซิลิโคนเคลื่อนลงต่ำกว่าตำแหน่งที่ถูกต้อง หรือ การเลือกวิธีผ่าตัดที่ไม่เหมาะกับรูปทรงหน้าอกจริง พบความเสี่ยงมากขึ้นในกรณีคนไข้มีหน้าอกหย่อนตัวหรือมีเนื้อธรรมชาติเดิมมากร่วมกับระยะจากหัวนมถึงราวนมสั้นกว่าปกติ
การรักษา : ขึ้นกับสาเหตุ รักษาโดยการปรับแต่งฐานอก แก้ไขระดับซิลิโคน แก้ไขวิธีผ่าตัดให้เหมาะสมกับรูปทรงธรรมชาติของหน้าอก |
|
|
|
การคลำได้รอยย่นและขอบถุงซิลิโคน (Rippling) |
เกิดได้ในรายที่เนื้อเยื่อเต้านมบางมากจนไม่เพียงพอในการปิดบังรอยย่นปกติของซิลิโคน ดังนั้นในกรณีที่เนื้อเต้านมและกล้ามเนื้อหน้าอกบางจึงควรใส่ในชั้นใต้กล้ามเนื้อเพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อ ripples การแก้ไขสามารถทำได้หลายวิธีโดยอาศัยการผ่าตัดแบบต่างๆ |
|
|
|
ระดับซิลิโคนไม่เท่ากัน (Asymetry) |
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การวางระดับซิลโคนไม่เท่ากัน การหดตัวของช่องซิลิโคน การผ่าตัดที่ไม่ได้แก้ไขระดับราวนมธรรมชาติให้เท่ากัน การยืดของผิวหนังที่ฐานอกไม่เท่ากัน (Bottom out) เป็นต้น |
|
|
|
การเชื่อมกันของผิวหนังที่ร่องอก (Symastia) |
เป็นภาวะที่รักษายากมาก เกิดจากการผ่าตัดเซาะด้านในร่องอกชิดมากเกินไป อาจร่วมกับใส่ซิลิโคนที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ฐานอกจะรับได้ โดยปกติในการผ่าตัดจะมีเกณฑ์มาตรฐานว่าห้ามเซาะชิดกลางร่องอกมากเกินไปเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว และการผ่าตัดชิดร่องอกมากเกินไป ยังมีความเสี่ยงเรื่องเลือดออกได้มากจากเส้นเลือดที่ด้านในร่องอกอีกด้วย |
|
|
|
การอักเสบติดเชื้อ (Infection) |
ป้องกันโดยควบคุมความสะอาดของเครื่องมือและห้องผ่าตัด ให้ยาปฏิชีวนะก่อนเริ่มทำการผ่าตัด ติดแผ่นป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจากท่อน้ำนม (Nipple shield) การผ่าตัดต้องห้ามเลือดอย่างดีเพื่อป้องกันเลือดคั่งหลังผ่าตัดซึ่งจะเกิดการติดเชื้อตามมาๆ ได้ |
|
หัวนมชา หรืออาการชาที่เต้านม (Loss of nipple sensation) |
มักพบได้ชั่วคราว อาการจะดีขึ้นใน 2-3 เดือน บางรายอาจใช้เวลาถึง 1 ปี ส่วนมากเกิดจากการยืดขยายของเส้นประสาท การกลับมาของความรู้สึกของหัวนมในระยะแรกอาจมีอาการเจ็บหรือไวต่อความรู้สึกมากกว่าปกติ ให้ใช้แผ่นเจลปิดเพื่อช่วยลดการสัมผัส
อาการชาถาวรของหัวนม พบได้ร่วมกับการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนขนาดใหญ่เกินไปและเกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงความรู้สึกของหัวนม |
|
การเกิดแผลเป็นนูน (Hypertrophic scar) |
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุ พบว่าในคนเอเชียมีความเสี่ยงสูงกว่าคนตะวันตก การผ่าตัดเสริมหน้าอกทางรักแร้ |
|
ปัญหาจากการรักษาที่ไม่เป็นตามมาตรฐาน (Malpractice problems) |
เช่น การฉีดฟิลเลอร์เสริมหน้าอก จะมีอาการจับตัวเป็นก้อนในเนื้อเต้านม การตรวจเอกซเรย์เพื่อเชคมะเร็งเต้านมทำได้ยากมากขึ้น บางรายมีอาการปวดหรือติดเชื้อแทรกซ้อนได้ |
|
ปัญหาจากการรักษาที่ไม่เป็นตามมาตรฐาน (Malpractice problems) |
เช่น การฉีดฟิลเลอร์เสริมหน้าอก จะมีอาการจับตัวเป็นก้อนในเนื้อเต้านม การตรวจเอกซเรย์เพื่อเชคมะเร็งเต้านมทำได้ยากมากขึ้น บางรายมีอาการปวดหรือติดเชื้อแทรกซ้อนได้ |
|
|
|
|
การฉีดสเตียรอยด์ในช่องซิลิโคน เพื่อหวังในการลดผังผืดหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก |
ยังไม่มีงานวิจัยยืนยันว่าได้ผลป้องกันผังผืดได้จริง แต่อาจเกิดผลแทรกซ้อนทำให้เนื้อเยื่อเต้านมบางลง เกิดความผิดปกติที่ผิวหนังมีรอบแตก ผิวหนังบางลง และอาจรุนแรงได้มาก และอาจเกิดผลแทรกซ้อนกับระบบต่อมหมวกไตหากใช้ยาในปริมาณมาก |
|
|